สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้ดำเนินงานโครงการสนองพระราชดำริ และโครงการ ตามแนวพระราชดำริ ของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลายาวนานในหลายรูปแบบ ได้แก่ โครงการวิจัย โครงการบริการวิชาการ เช่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินงานหลักๆ ในพื้นที่การศึกษาบางพระ จังหวัดชลบุรี พื้นที่การศึกษาจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี การดำเนินงานโครงการเหล่านี้ หน่วยงานสามารถตั้งงบประมาณ และหน่วยงานรับผิดชอบได้โดยตรง แต่การดำเนินงานของหน่วยงานในระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ยังเกิดปัญหาการประสานงานเชื่อมโยงแผนการดำเนินงาน และการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ ที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ไม่เห็นผล ในเชิงรูปธรรมที่ชัดเจน การรองรับผลงานที่ไม่ตรงตามการวัด และประเมินผลของหน่วยงานที่แฝงอยู่ และเมื่อโครงการสิ้นสุดลง ก็ไม่มีการเก็บบันทึกผลงานไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมไม่เต็มที่

ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เรื่อง จัดตั้งสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้เล็งเห็นการถวายงานสนองพระราชดำรินั้นเป็นเรื่องสำคัญ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจังให้สมพระเกียรติ ตามมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในการประชุมครั้งที่ 23/2560 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 และมติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ให้จัดตั้ง สำนักงานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ขึ้น เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย มีสถานะเป็นกองในสำนักงานอธิการบดี โดย ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2560 มีแผนแม่บท แผนงาน และงบประมาณ ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุวัตถุประสงค์ โดยหน่วยงานนี้จะทำหน้าที่หลักในการประสานงาน และสนับสนุนส่งเสริมพันธิกิจของมหาวิทยาลัย ตลอดจน บูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านต่างๆ เข้ากับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของทุกพระองค์ ทั้ง 3 รูปแบบ อันได้แก่ โครงการสนองพระราชดำริ โครงการตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้หน่วยงานนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลของโครงการพระราชดำริในภาคตะวันออก ทั้งที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้นำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์แท้ต่อประชาชน

วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์กลางในการน้อมนำพระราชดำริ และแนวพระราชดำริมาพัฒนาและปฏิบัติให้สอดคล้อง กับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ประชาชน

พันธกิจ

– ดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– ศึกษาวิจัยวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความร่วมมือ ในทุกระดับ
– สร้างระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลาย ด้านชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงในทุกระดับ
– พัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย และพื้นที่ศึกษาในชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพสิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
– บริการวิชาการ ด้านการฝึกอบรบรม จัดค่ายเยาวชน และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมในรูปแบบที่หลากหลาย
– จัดประชุม สัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
– จัดทำศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์

ดำเนินงานโครงการสนองพระราชดำริ และโครงการตามแนวพระราชดำริ โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเป็นศูนย์กลาง

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนและบูรณาการพันธกิจหลักของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกในการดำเนินโครงการสนองพระราชดำริโครงการตามแนวพระราชดำริเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มาตรการ/กลยุทธ์

น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึง ความ พอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการทำ

แผนยุทธศาสตร์สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (พ.ศ.2565-2569)

ยุทธศาสตร์สำนักงาน

การขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง
แผนการดำเนินงานของสำนักงาน

มาตรการ กลยุทธ์

มาตรการที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุน การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการบริการวิชาการ ตามแนวพระราชดำริ

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างการพึ่งพาระหว่างกันในชุมชน
กลยุทธ์ที่ 4 สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาหลักสูตร ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 6 การพัฒนาการมีส่วนร่วมตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น
กลยุทธ์ที่ 7 การพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 8 การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออก
กลยุทธ์ที่ 9 การสนับสนุนการบริการวิชาการ การวิจัย การเรียนการ สอนที่สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 10 การติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตร

มาตรการที่ 2 สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

กลยุทธ์ที่ 1 สนับสนุนโครงการวิจัยการอนุรักษ์พันธ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริกลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนการรวบรวมพันธุกรรมพืช ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ….
กลยุทธ์ที่ 4 โครงการประสานงานความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก

มาตรการที่ 3 การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 1 รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลโครงการ /กิจกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริและตามแนวพระราชดำริทั้ง ในมหาวิทยาลัยและในภาคตะวันออก
กลยุทธ์ที่ 2 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์จากสื่อสารสนเทศโครงการ สู่ชุมชน