สุเมธ ตันติเวชกุล (2549, หน้า 39-45) ได้อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริอยู่ เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กำไร ไม่เกี่ยวกับเรื่องจิตใจซึ่งเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างขวางกว่าเศรษฐกิจ นายทุนหรือเศรษฐกิจธุรกิจ เพราะครอบคลุมถึง 4 ด้าน คือ
1. มิติด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินให้มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบสัมมาอาชีพเพื่อให้พึ่งตนเองได้ให้พ้นจากความยากจน การปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ช่วยให้เกษตรกรจำนวนมากมีรายได้ เพิ่มสูงขึ้น และมีชีวิตที่เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพพ้นจากการเป็นหนี้และความยากจน สามารถ พึ่งตนเองได้ มีครอบครัว ที่อบอุ่นและเป็นสุข
2. มิติด้านจิตใจ เศรษฐกิจพอเพียงเน้นที่จิตใจที่รู้จักพอ คือ พอดี พอประมาณ และพอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ ไม่โลภ เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเริ่มที่ตัวเองโดยสร้างรากฐานทางจิตใจที่มั่งคง โดยเริ่ม จากใจที่รู้จักพอเป็นการปฏิบัติตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา
3. มิติด้านสังคม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ ประชาชนมีความเมตตาเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือ เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดย ปราศจากการเบียดเบียนกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน การมุ่งร้ายทำลายกัน
4 มิติด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (way of life) ของประชาชน เศรษฐกิจพอเพียงมุ่ง ให้เกิดวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่ประหยัด อดออม มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ไม่ตกเป็นทาส ของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งทำให้เกิดการเป็นหนี้เป็นสินเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นปัญหาสังคมที่ ร้ายแรงที่สุดปัญหาหนึ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ
** สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ก, หน้า 78) ได้อธิบายถึง พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ คำว่า ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวดีพอสมควรต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มี ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้ สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ก, หน้า 83) ได้อธิบายถึง การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ใช้ให้ ประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การมีสติพิจารณาตัวเองรู้จักใช้ทรัพยากรให้เพียงพอ และเหมาะสมอย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งทุกจังหวัดต้องสำรวจจำนวนข้าราชการพร้อม ศักยภาพข้าราชการ และวางแผนการทำงานให้เกิดการพัฒนา ในแต่ละจังหวัดไม่จำเป็นต้องดำเนินงาน ในลักษณะที่เหมือนกันก็ได้ รู้จักใช้เหตุและผล พร้อมกับสติปัญญา ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ รู้จักปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้รอบรู้อยู่เสมอและที่สำคัญ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เพราะหาก ข้าราชการไม่ซื่อสัตย์สุจริตแล้วจะเกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนและประเทศชาติ
** สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550ก). การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจ [รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ข, หน้า 56) ได้อธิบายถึง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชา และหลักธรรมหลายประการ อาทิ
1. เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
2. เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
3. จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการ รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้อย่างดี 
4. ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง ภายนอกและภายใน
5. จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำ วิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน 
6. จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้ มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ 
** สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550ข). สอนรัฐ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องเดินสายแจงต่างชาติ. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2550, จาก http://www.manager.co.th/QOL/View News.aspx?
อำพล เสนาณรงค์ (2550) ได้กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา หรือแนวปฏิบัติ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรารถนาจะให้รากแก้วในสังคมได้ยึดเป็นแนวดำรงชีวิตเพื่อความอยู่ดีกินดี ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมีด้วยกัน 7 ข้อ คือ พึ่งพาตนเอง พอประมาณ เดินสายกลาง มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุผล เป็นคนดี และรู้รักสามัคคี โดยหลักสำคัญทั้ง 7 ข้อนี้ คนทุกกลุ่มทุก อาชีพสามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
** อำพล เสนาณรงค์. (2550). องคมนตรีของคนไทยช่วยกันเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง.   ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2551, จาก http://www.manager.co.th/QOL/View News.aspx

เกษม วัฒนชัย (2550ก, หน้า 14) ได้อธิบายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงว่า ประหยัดไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความละมุนละม่อม ด้วย เหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงและทุกคนจะมีความสุข และพระองค์ได้ทรงย้ำคำว่า พอเพียง คือ ไม่โลภ ไม่เบียดเบียน และพอเพียงนี้อาจมีมากก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น และต้องพอประมาณ ตามอัตภาพ
** เกษม วัฒนชัย. (2550ก). ยูเอ็นนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ 114 ประเทศทั่วโลก. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2550, จาก http://www.manager.co.th/Home /View News.aspx

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2549, หน้า 27-28) ได้อธิบายถึง เนื้อหาสรุปปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง  จากการสรุปเนื้อหาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้ร่วมกันแปลงนิยามออกมาเป็นสัญลักษณ์ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จดจำและนำไปปฏิบัติ โดยมีความหมายว่า ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเรื่องของทางสายกลาง ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ คือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยมกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้น ปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย ความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต และมี 3 คุณลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไป คือ2.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผล ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จะนำชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ไปสู่การพัฒนาที่ สมดุล มั่นคง และยั่งยืน
** จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, 4, 27-28.

สรุป จากการศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ คือ การยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็น พื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ

สุเมธ ตันติเวชกุล เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

อำพล เสนาณรงค์ (2550) ได้กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา

เกษม วัฒนชัย (2550ก, หน้า 14) ได้อธิบายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว